วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long)


อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) 



อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"


      อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
      อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537







วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนวัดโบสถ์จัดกิจกรรมอาเซียน

โรงเรียนวัดโบสถ์จัดกิจกรรมอาเซียน
ผลงานช่วยกันทำนังสือเล่มเล็กเข้ามุมอาเซียน
นักเรียนมีจิตอาสา
 ทำกจิกรรมอาเซียน

ภาพความสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สหภาพเมียนมาร์ (Union of Myanmar)

สหภาพเมียนมาร์ (Union of Myanmar)

- ที่ตั้ง ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (๒,๑๘๕ กม.)

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (๒๓๕ กม.) และไทย (๒,๔๐๑ กม.)

ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (๑,๔๖๓ กม.) และบังกลาเทศ (๑๙๓ กม.)
-  ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
-  พื้นที่ ๖๕๗,๗๔๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๑.๓ เท่าของไทย) 
-  เมืองหลวง เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) 
(ตามที่ระบุในบทที่ ๑๓ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๑ แต่รัฐบาลเมียนมาร์ยังไม่ได้แจ้งเวียนให้ทราบอย่างเป็นทางการ)


-  ประชากร ๕๘.๓๘ ล้านคน (ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒)

--ภาษาราชการ เมียนมาร์/พม่า 
-  ศาสนา ศาสนาพุทธ (ร้อยละ ๘๙) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ ๕) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ ๔) อื่น ๆ (ร้อยละ ๒)



เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา จั๊ต อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ ๗๒๕ จั๊ตเท่ากับ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๒๔ จั๊ตเท่ากับประมาณ ๑ บาท (ณ เดือนกันยายน ๒๕๕๔)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ๓๑.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ๒,๘๕๘ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๓.๓ (ปี ๒๕๕๓)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ เมล็ดพืชและถั่ว 

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ 
การทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก 
การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง 
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง 
พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

ประชากร
จำนวนประชากรประมาณ 52 ล้านคน พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%

วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ศาสนา
พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%

การคมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ลาโช-แสนหวี-มูเซ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด